ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง

ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง มีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง (ณ วันที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2552) มีหน้าที่จะต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบ้านม่วง จึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ ในการที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตำบลในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมด้านการเมืองการบริหาร และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องพัฒนาท้องถิ่นให้ครอบคลุมในทุกด้าน และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ” โดยมุ่งหวังให้ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข เป็นชุมชนปลอดจากอบายมุขและยาเสพติดเยาวชนในเขตพื้นที่มีคุณภาพ ประชาชนในเขตพื้นที่มีความสามัคคีกัน และเป็นพลังพัฒนาตำบลให้มีความเจริญ ซึ่งในการพัฒนาด้านต่างๆ ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง สามารถดำเนินการตามนโยบายและแผนงานและได้รับความไว้วางใจจากราษฎรให้เป็นที่ปรึกษา และแก้ไขปัญหาในทุกๆด้าน

เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง มียุทธศาสตร์หลักที่จะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จรวม 9 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้บรรลุเป้าประสงค์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

ประชาชนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านสังคม  ดังนี้

ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้

มีระบบการคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคครบทุกหมู่บ้าน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ดังนี้

ประชาชนมีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคตลอดทั้งปี

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการเมือง การบริหาร  ดังนี้

ประชาชนมีส่วนร่วมการแสดงความคิดเห็นการบริหารงานส่วนท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

ประชาชนให้ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ดังนี้

เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการศึกษาครบถ้วน บำรุงอนุรักษ์รักษาประเพณีท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาด้านสาธารณสุข  ดังนี้

ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลโรคติดต่อ

ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาด้านการบริหารบูรณาการจัดการ  ดังนี้

บุคลากรในองค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล